แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจ ไม่รับคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

3.แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจไม่รับคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

O14-แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจไม่รับคำร้อ

หลายคนอาจเคย แจ้งความ แล้วไม่สามารถแจ้งได้หรือแจ้งแล้วเรื่องเงียบคดีไมเดินทำให้มีคำถามอยู่ภายในใจเต็มไปหมด ว่าทำไมการแจ้งความร้องทุกข์จึงยุ่งยากนัก ลงบันทึกประจำวันไว้แล้วทำไมตำรวจไม่ดำเนินคดีให้แจ้งความไปตั้งนานแล้วแต่ก็ไม่เห็นความคืบหน้า หากเจอแบบนี้เราจะทำยังไงได้บ้าง ?

เนื่องจากการแจ้งความร้องทุกข์ลงบันทึกประจำวัน และการกล่าวโทษนั้น มีเจตนาและผลทางกฎหมายที่แตกต่างกัน เราจึงต้องทำความเข้าใจระหว่างการแจ้งความ การลงบันทึกประจำวัน และการยื่นคำกลา่วโทษกันก่อนว่า แต่ละอย่างมีความแตกต่างกันอย่างไร เหตุการณ์แบบไหนควรแจ้งอะไร

การแจ้งความ คือ การที่เรานำเรื่องที่เราเดือดร้อนไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์เช่น พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่มีตำแหน่งหน้าที่รองหรือ เหนือพนักงานสอบสวน และเป็นผู้ที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมาย โดยมีเจตนาให้คนผิดได้รับโทษ หรือต้องการให้มีการดำเนินคดีจนถึงที่สุด ทำให้เกิดเป็นคดีความระหว่างเราซึ่งเป็นผู้เสียหายและอีกฝ่ายหนึ่ง ที่เป็น คู่กรณีและเจ้าหน้าที่จะสามารถดำเนินคดีต่อไปได้


คำร้องทุกข์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 หมายถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่า มีผู้กระทา ความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทา ความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้น ได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ


การลงบันทึกประจำวัน คือ การนำเรื่องไปแจ้ง ให้เจ้าหน้าที่รับทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง พนักงานสอบสวนี่รับเรื่องก็จะจดบันทึกลงในรายงานประจำวันเพื่อเป็นหลักฐาน หรือแจ้งเอกสารหายก็บันทึกลงรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหาย และกรณีนี้ พนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีต่อไม่ได้ เพราะคนแจ้งไม่มีเจตนาให้คนผิดได้รับโทษหรือไม่ต้องการดำเนินคดีนนั่นเอง


การยื่นคำกล่าวโทษ คือ การที่เราพบเห็นเหตุการณ์ไม่ปกติพบผู้เสียหาย หรือพบว่า มีการกระทำผิด แล้วนำ เรื่องไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการทำผิดหรือมีความเสียหายเกิด ขึ้น โดยที่เราจะรู้ตัวหรือไมร่ ู้ตัวผู้กระทา ผิดก็ได้แต่ก็แจ้งไปก่อนเพื่อให้เจ้าหน้าท่ตำรวจสามารถนำเรื่องที่เรากล่าวโทษไปพิจารณาเพื่อดำเนินคดีต่อไปได้


สรุป ได้ว่าในการดำเนินคดีอาญานั้น เราสามารถนำเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้มีการดำเนิน คดีกับผู้กระทำความผิดได้เรียกว่า “การแจ้งความร้องทุกข์” ส่วนกรณีที่ต้องการแจ้งไว้เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานไม่ต้องการให้มีการดำเนินคดีใด ๆ เรียกว่า “การลงบันทึกประจำวัน” หรือเราไปพบเจอการทำความผิดหรือพบผู้เสียหาย เราก็สามารถแจ้งเหตุ ยื่นคำกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนได้เพื่อให้ตำรวจเข้ามาช่วยเหลือผู้เสียหายและมีการดำเนินคดีต่อไปนั่นเอง